พระพุทธศาสนา ได้วิจารณ์แนวคิดทางตะวันตกในเรื่องญาณวิทยาว่า
สุตมยปัญญา = ประสบการณ์นิยม
จินตามยปัญญา = เหตุผลนิยม
ภาวนามยปัญญา = อัชฌัตติกญาณ คือ สมถภาวนา ได้แก่ ความรู้แจ้งอย่างฉับพลัน แต่ยังมีกิเลสอยู่
ส่วนการบรรลุธรรมหรือการตรัสรู้นั้นจะไม่มีกิเลสในจิตใจเลย ทำให้ความรู้ที่ได้รับถูกต้องชัดเจนเสมอ ดังนั้นเพื่อที่จะให้ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง มนุษย์จึงควรฝึกอบรมจิตด้วยสมถภาวนา เพื่อให้จิตใจสงบและเจริญวิปัสสนาภาวนา เพื่อทำลายกิเลส
Friday, February 5, 2010
ญาณวิทยา (Epistemology)
1. เหตุผลนิยม- ความเข้าใจ (understanding)
คือแนวความคิดที่ถือว่ามนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด (innate idea) ซึ่งความรู้นั้นจัดว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง เป็นอิสระจากประสบการณ์ (a priori knowledge) ถือว่าเป็นความรู้ที่แน่นอนตายตัว ที่เรียกว่า ความจริงที่จำเป็น (necessary truth) จะต้องไม่เป็นความจริงที่ไม่แน่นอน (contingent truth)
กิจกรรมทางปัญญา คือ การคิดตามเหตุผลซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมนุษย์ไปสู่ความรู้ที่แน่นอนได้
ใช้วิธีการนิรนัย (Deduction) ในการแสวงหาความรู้
นักปรัชญาในกลุ่มเหตุผลนิยม
เรอเน เดการ์ตส์ (Rene Decartes : 1596 – 1650)
บารุค สปิโนซา (Baruch Spinoza : 1632 – 1677)
คอทฟริด วินเฮล์ม ฟอน ไลบ์นิช (Cottfried Wilhelm Von Leibniz : 1646 – 1716)
2 ประสบการณ์นิยม – ผัสสะ (sensation)
คือแนวความคิดที่ถือว่าความรู้ของมนุษย์มีบ่อเกิดมาจากประสบการณ์เท่านั้น (Experience) ซึ่งหมายถึงว่า ความรู้เหล่านั้นจะต้องผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย อย่างเดียว
ใช้วิธีการอุปนัย (Induction) ในการแสวงหาความรู้
นักปรัชญาในกลุ่มประสบการณ์นิยม
ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon : 1561 – 1626)
โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes : 1588 – 1679)
จอห์น ล็อค (John Locke : 1632 – 1704)
เดวิด ฮิวม์ (David Hume : 1711 – 1776)
3 ลัทธิค้านท์ - ทั้งความเข้าใจและผัสสะ
ค้านท์ กล่าวว่า เป็นความเข้าใจผิดของฝ่ายประสบการณ์นิยมซึ่งถือว่า จิตไม่ใช่ตัวทำงานในกระบวนการการทำงานรับรู้ของมนุษย์ และก็เป็นความเข้าใจผิดของฝ่ายเหตุผลนิยมที่ไม่ให้ความสำคัญกับความรู้ทางผัสสะ
เขากล่าวว่า
“ มโนภาพหากปราศจากการรับรู้ทางผัสสะแล้วก็เป็นสิ่งที่ ว่างเปล่า ส่วนการรับรู้ทางผัสสะหากปราศจากมโนภาพก็กลายเป็นความมืดบอด ”
“ Conception without perception is empty : Perception without conception is blind ”
สำหรับค้านท์ ความรู้ จะต้องมาจากสิ่ง 2 ประเภทคือ
1. ความรู้ที่มีบ่อเกิดมาจากประสบการณ์
2. ความรู้ที่มาจากความคิดของมนุษย์
4 สัญชาตญาณนิยม - อัชฌัตติกญาณ (intuition)
คือแนวความคิดที่ถือว่าความรู้ของมนุษย์สามารถที่จะเข้าถึงความจริงได้อย่างฉับพลันโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางผัสสะหรือเหตุผลแต่ประการใด
ตัวอย่างเช่น ไอแซก นิวตัน ค้นคิดกฎแรงโน้มถ่วงของโลก โดยผ่านลูกแอ๊ปเปิ้ล
ใช้วิธีการอัชฌัตติกญาณ (intuition) ในการแสวงหาความรู้
5 วิวรณ์ - การเปิดเผยจากพระเจ้า (revelation)
คือแนวความคิดที่ถือว่ามนุษย์เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยเมื่ออยู่เบื้องหน้าพระพักตร์ของพระผู้เป็นเจ้า เปรียบเสมือนทารกน้อยที่อยู่ต่อหน้าบิดา ผู้ได้รับมหากรุณาอันเต็มเปี่ยมด้วยความรักฉะนั้น
อีกประการหนึ่ง พระเจ้าเปรียบเสมือนพระสุริโยทัยที่ทอแสงส่องประกายระยิบระยับอันอบอุ่นในเวลาอรุณรุ่ง ทำให้สัตว์โลกผู้หลับไหลในเวลารัตติกาลคืออวิชชาและเหน็บหนาวจากความทุกข์ทรมานเพราะอำนาจกิเลส ได้ตื่นฟื้นขึ้นมาจากภวังค์แห่งความหลับไหลและมองเห็นความงดงามแห่งดวงสุริยาพร้อมกับการได้รับไออุ่นฉะนั้น
6 พระพุทธศาสนา – ตรัสรู้ (enlightenment)
คือแนวความคิดที่ถือว่าความรู้ขั้นมูลฐานของมนุษย์เกิด
จากประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อีกประการหนึ่ง แหล่งความรู้ที่มนุษย์ได้รับจะมาจาก
3 แหล่ง ดังต่อไปนี้ คือ
สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง การอ่าน
จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการพิจารณา
ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดมาจากการฝึกฝนอบรมจิต
ภาวนามยปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ
3.1 สมถภาวนา ได้แก่ ปัญญาที่เกิดมาจากการฝึกจิตให้เกิดความสงบจนทำให้เกิดญาณ ความรู้ต่าง ๆ เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์ รู้ใจคนอื่น เป็นต้น
3.2 วิปัสสนาภาวนา ปัญญาที่เกิดมาจากการเจริญปัญญาจนสามารถทำลายกิเลสคือ โลภ โกรธ หลง ให้หมดไปจากจิตใจ
ความรู้ที่เกิดจากสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา รวมทั้งสมถภาวนา ยังจัดว่าเป็นความรู้ที่ไม่แน่นอน ส่วนวิปัสนาภาวนา (Enlightenment) จัดว่าเป็นความรู้ที่แน่นอนเพราะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน อันเนื่องมาจากการขจัดกิเลสอันเป็นเหตุให้จิตใจมืดมนได้แล้ว
คือแนวความคิดที่ถือว่ามนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด (innate idea) ซึ่งความรู้นั้นจัดว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง เป็นอิสระจากประสบการณ์ (a priori knowledge) ถือว่าเป็นความรู้ที่แน่นอนตายตัว ที่เรียกว่า ความจริงที่จำเป็น (necessary truth) จะต้องไม่เป็นความจริงที่ไม่แน่นอน (contingent truth)
กิจกรรมทางปัญญา คือ การคิดตามเหตุผลซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมนุษย์ไปสู่ความรู้ที่แน่นอนได้
ใช้วิธีการนิรนัย (Deduction) ในการแสวงหาความรู้
นักปรัชญาในกลุ่มเหตุผลนิยม
เรอเน เดการ์ตส์ (Rene Decartes : 1596 – 1650)
บารุค สปิโนซา (Baruch Spinoza : 1632 – 1677)
คอทฟริด วินเฮล์ม ฟอน ไลบ์นิช (Cottfried Wilhelm Von Leibniz : 1646 – 1716)
2 ประสบการณ์นิยม – ผัสสะ (sensation)
คือแนวความคิดที่ถือว่าความรู้ของมนุษย์มีบ่อเกิดมาจากประสบการณ์เท่านั้น (Experience) ซึ่งหมายถึงว่า ความรู้เหล่านั้นจะต้องผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย อย่างเดียว
ใช้วิธีการอุปนัย (Induction) ในการแสวงหาความรู้
นักปรัชญาในกลุ่มประสบการณ์นิยม
ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon : 1561 – 1626)
โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes : 1588 – 1679)
จอห์น ล็อค (John Locke : 1632 – 1704)
เดวิด ฮิวม์ (David Hume : 1711 – 1776)
3 ลัทธิค้านท์ - ทั้งความเข้าใจและผัสสะ
ค้านท์ กล่าวว่า เป็นความเข้าใจผิดของฝ่ายประสบการณ์นิยมซึ่งถือว่า จิตไม่ใช่ตัวทำงานในกระบวนการการทำงานรับรู้ของมนุษย์ และก็เป็นความเข้าใจผิดของฝ่ายเหตุผลนิยมที่ไม่ให้ความสำคัญกับความรู้ทางผัสสะ
เขากล่าวว่า
“ มโนภาพหากปราศจากการรับรู้ทางผัสสะแล้วก็เป็นสิ่งที่ ว่างเปล่า ส่วนการรับรู้ทางผัสสะหากปราศจากมโนภาพก็กลายเป็นความมืดบอด ”
“ Conception without perception is empty : Perception without conception is blind ”
สำหรับค้านท์ ความรู้ จะต้องมาจากสิ่ง 2 ประเภทคือ
1. ความรู้ที่มีบ่อเกิดมาจากประสบการณ์
2. ความรู้ที่มาจากความคิดของมนุษย์
4 สัญชาตญาณนิยม - อัชฌัตติกญาณ (intuition)
คือแนวความคิดที่ถือว่าความรู้ของมนุษย์สามารถที่จะเข้าถึงความจริงได้อย่างฉับพลันโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางผัสสะหรือเหตุผลแต่ประการใด
ตัวอย่างเช่น ไอแซก นิวตัน ค้นคิดกฎแรงโน้มถ่วงของโลก โดยผ่านลูกแอ๊ปเปิ้ล
ใช้วิธีการอัชฌัตติกญาณ (intuition) ในการแสวงหาความรู้
5 วิวรณ์ - การเปิดเผยจากพระเจ้า (revelation)
คือแนวความคิดที่ถือว่ามนุษย์เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยเมื่ออยู่เบื้องหน้าพระพักตร์ของพระผู้เป็นเจ้า เปรียบเสมือนทารกน้อยที่อยู่ต่อหน้าบิดา ผู้ได้รับมหากรุณาอันเต็มเปี่ยมด้วยความรักฉะนั้น
อีกประการหนึ่ง พระเจ้าเปรียบเสมือนพระสุริโยทัยที่ทอแสงส่องประกายระยิบระยับอันอบอุ่นในเวลาอรุณรุ่ง ทำให้สัตว์โลกผู้หลับไหลในเวลารัตติกาลคืออวิชชาและเหน็บหนาวจากความทุกข์ทรมานเพราะอำนาจกิเลส ได้ตื่นฟื้นขึ้นมาจากภวังค์แห่งความหลับไหลและมองเห็นความงดงามแห่งดวงสุริยาพร้อมกับการได้รับไออุ่นฉะนั้น
6 พระพุทธศาสนา – ตรัสรู้ (enlightenment)
คือแนวความคิดที่ถือว่าความรู้ขั้นมูลฐานของมนุษย์เกิด
จากประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อีกประการหนึ่ง แหล่งความรู้ที่มนุษย์ได้รับจะมาจาก
3 แหล่ง ดังต่อไปนี้ คือ
สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง การอ่าน
จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการพิจารณา
ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดมาจากการฝึกฝนอบรมจิต
ภาวนามยปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ
3.1 สมถภาวนา ได้แก่ ปัญญาที่เกิดมาจากการฝึกจิตให้เกิดความสงบจนทำให้เกิดญาณ ความรู้ต่าง ๆ เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์ รู้ใจคนอื่น เป็นต้น
3.2 วิปัสสนาภาวนา ปัญญาที่เกิดมาจากการเจริญปัญญาจนสามารถทำลายกิเลสคือ โลภ โกรธ หลง ให้หมดไปจากจิตใจ
ความรู้ที่เกิดจากสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา รวมทั้งสมถภาวนา ยังจัดว่าเป็นความรู้ที่ไม่แน่นอน ส่วนวิปัสนาภาวนา (Enlightenment) จัดว่าเป็นความรู้ที่แน่นอนเพราะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน อันเนื่องมาจากการขจัดกิเลสอันเป็นเหตุให้จิตใจมืดมนได้แล้ว
ญาณวิทยา ( Epistemology ) หมายถึง
ญาณวิทยา หรือเรียกอีกอย่างว่า ทฤษฎีความรู้ ( Theory of Knowledge )
คำว่า ญาณวิทยานี้บัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นคำแปลของคำภาษาอังกฤษว่า Epistemology ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า
Episteme (ความรู้) + Logos (วิชา )
มีความหมายว่า ทฤษฎีแห่งความรู้ ( Theory of Knowledge )
ซึ่งญาณวิทยา จะอธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับที่มาของความรู้
แหล่งเกิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้
และเหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง
การที่มนุษย์เรามีความรู้ขึ้นมาได้นั้น เพราะ มนุษย์นั้นรู้จักการคิด ซึ่งแตกต่างจากสัตว์โลกประเภทอื่น การที่เราจะมีความรู้ที่แท้จริง (อภิปรัชญา) ได้นั้น เราต้องใช้วิธีการของญาณวิทยาสืบค้นหาความเป็น
จริงอย่างละเอียด ...
ญาณวิทยา(Epistemology)
ญาณวิทยาไม่ใช่ โลกวิญญาณ หรือ การเข้าฌาณเป็นแน่แท้ แม้จะลงท้ายด้วยด้วยอานๆเหมือนกันก็เหอะ ถ้าจำให้ดีก่อนหน้านี้เราพูดถึงอภิปรัชญามาแล้ว ญาณวิทยามันก็ลูกๆของปรัชญา เหมือนอภิปรัชญานั่นแหล่ะ แบบเป็นซับเซ็ท ของปรัชญาไง
"แล้วญาณวิทยามันเป็นยังไงล่ะป้า บอกตามตรงนะศัพท์แสงป้าเยอะจริงๆผมปวดหัว " วันเดอร์บอยเอาตีนมาเกยหน้าผาก
"เออทนเอาหน่อยเหอะพ่อวันเดอร์บอย ป้าจะอธิบายให้ฟังสั้นๆนะ"
ญาณวิทยาหรือหลักแห่งความรู้ นั้นมีความแตกต่างจากอภิปรัชญาแบบคนละเรื่อง นั่นคือ อภิปรัชญาว่าด้วยการค้นหาว่า จักรวาลนี้อะไรเป็นสิ่งจริงแท้ หรือสิ่งสูงสุด แต่ ญาณวิทยากลับมองตรงกันข้ามเนื่องจาก เราไม่อาจรู้ได้ว่าสุดท้ายแล้วอะไรคือสิ่งจริงแท้กันแน่ จึงหันมาสนใจเรื่องการค้นหาความรู้ที่แท้จริงดีกว่า โดยส่วนใหญ่แล้วก้จะเน้นในเรื่อง ต้นกำเนิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ และกระบวนการรับรู้ว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร?
คำว่า ญาณวิทยานี้บัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นคำแปลของคำภาษาอังกฤษว่า Epistemology ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า
Episteme (ความรู้) + Logos (วิชา )
มีความหมายว่า ทฤษฎีแห่งความรู้ ( Theory of Knowledge )
ซึ่งญาณวิทยา จะอธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับที่มาของความรู้
แหล่งเกิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้
และเหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง
การที่มนุษย์เรามีความรู้ขึ้นมาได้นั้น เพราะ มนุษย์นั้นรู้จักการคิด ซึ่งแตกต่างจากสัตว์โลกประเภทอื่น การที่เราจะมีความรู้ที่แท้จริง (อภิปรัชญา) ได้นั้น เราต้องใช้วิธีการของญาณวิทยาสืบค้นหาความเป็น
จริงอย่างละเอียด ...
ญาณวิทยา(Epistemology)
ญาณวิทยาไม่ใช่ โลกวิญญาณ หรือ การเข้าฌาณเป็นแน่แท้ แม้จะลงท้ายด้วยด้วยอานๆเหมือนกันก็เหอะ ถ้าจำให้ดีก่อนหน้านี้เราพูดถึงอภิปรัชญามาแล้ว ญาณวิทยามันก็ลูกๆของปรัชญา เหมือนอภิปรัชญานั่นแหล่ะ แบบเป็นซับเซ็ท ของปรัชญาไง
"แล้วญาณวิทยามันเป็นยังไงล่ะป้า บอกตามตรงนะศัพท์แสงป้าเยอะจริงๆผมปวดหัว " วันเดอร์บอยเอาตีนมาเกยหน้าผาก
"เออทนเอาหน่อยเหอะพ่อวันเดอร์บอย ป้าจะอธิบายให้ฟังสั้นๆนะ"
ญาณวิทยาหรือหลักแห่งความรู้ นั้นมีความแตกต่างจากอภิปรัชญาแบบคนละเรื่อง นั่นคือ อภิปรัชญาว่าด้วยการค้นหาว่า จักรวาลนี้อะไรเป็นสิ่งจริงแท้ หรือสิ่งสูงสุด แต่ ญาณวิทยากลับมองตรงกันข้ามเนื่องจาก เราไม่อาจรู้ได้ว่าสุดท้ายแล้วอะไรคือสิ่งจริงแท้กันแน่ จึงหันมาสนใจเรื่องการค้นหาความรู้ที่แท้จริงดีกว่า โดยส่วนใหญ่แล้วก้จะเน้นในเรื่อง ต้นกำเนิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ และกระบวนการรับรู้ว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร?
Subscribe to:
Posts (Atom)